แบบทดสอบก่อนเรียน ม.2 อ่าน เขียน ร้องโน้ต

1.การพัฒนาจังหวะในการร้องเพลงไทย ข้อใดถูกต้อง?
ก. กำมือแล้วเคาะ
ข. ใช้ปลายนิ้วมือเคาะ
ค. ใช้เท้าเคาะ
ง. ถูกทุกข้อ

2.สัญลักษณ์ (xํ) และ (xฺ) ที่ปรากฏในโน้ตเพลงไทย หมายถึงอะไร?
ก. ตัวโน้ตมีเสียงดัง-เบา
ข. ตัวโน้ตมีเสียงสั้น-ยาว
ค. ตัวโน้ตมีเสียงสูง-ต่ำ
ง. ตัวโน้ตมีเสียงแหลม-ทุ้ม

3.จังหวะหน้าทับใช้เครื่องดนตรีในข้อใดเป็นเครื่องกำกับจังหวะ?
ก. ฉิ่ง
ข. กรับ
ค. โหม่ง
ง. กลองแขก

4.การขับร้องเพลงไทยควรทำท่าท่างอย่างไร?
ก. นั่งขัดสมาธิ
ข. นั่งคุกเข่า
ค. นั่งไขว่ห้าง
ง. นั่งพับเพียบ

5.หลักปฏิบัติข้อแรกในการฝึกปฏิบัติการร้องและบรรเลงรวมวง คือข้อใด?
ก. ทำความสะอาดเครื่องดนตรี
ข. ทำความเคารพผู้สอน
ค. ฝึกท่องโน้ตเพลง
ง. ฝึกฟังเพลง

6.การขับร้องเพลงไทยสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด?
ก. รัตนโกสินทร์
ข. สุโขทัย
ค. ธนบุรี
ง. อยุธยา

7.เสียง "อือ" ในการขับร้องเพลงไทย เป็นเสียงที่ผ่านออกมาทางใด?
ก. ลำคอ
ข. จมูก
ค. ครึ่งปากครึ่งจมูก
ง. ครึ่งลำคอครึ่งจมูก

8.แช็ค ชุมแพ ร้องเพลง คำแพง จัดเป็นการขับร้องเพลงแบบใด?
ก. ขับร้องคู่
ข. ขับร้องเดี่ยว
ค. ขับร้องรวมวง
ง. ขับร้องคนเดียว

9.ด ร ม ซ ล อ่านออกเสียงอย่างไร?
ก. โด เร มี๊ ซอล ลา
ข. โด เร มี ซอล ร้า
ค. โด เร มี ซอล ลา
ง. โด่ เล มี ซอล ลา

10.ฟา ซอล ลา ที ใช้อักษรแทนเสียงอย่างไร?
ก. ฟ ซ ร ท
ข. ฟ ซ ล ท
ค. ฟ ช ล ธ
ง. ฟ ซ ร ธ

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติและส่วนประกอบของฆ้องวงใหญ่